วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

พิพิธภันฑ์หมี

พิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาหมี “TEDDY BEAR MUSEUM“

พิพิธภัณฑ์ เทดดี้ แบร์ มิวเซี่ยม เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2556 เริ่มจากผู้บริหาร บริษัท เทดดี้ ไอส์แลนด์ จำกัด มิสเตอร์ คิมฮยอนชอล มีโอกาสมาเที่ยวเมืองไทยหลายครั้ง ในระยะเวลา 10 ปี จนรู้สึกหลงรักเมืองไทย ประทับใจในรอยยิ้ม และรู้สึกอบอุ่น จากการต้อนรับอย่างเป็นกันเอง เมืองไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย คนไทยส่วนใหญ่ชอบถ่ายภาพสถานที่ที่ได้ไปสัมผัส เก็บความประทับใจไว้ ส่วนตัวของผู้บริหารเองนั้นท่านก็รักการถ่ายรูปเช่นกัน ท่านมักจะถือกล้องถ่ายรูปไปด้วยเสมอ ในยามที่ท่านออกจากบ้าน และด้วยเหตุผลง่ายๆนี้เอง ท่านได้เกิดความคิดที่จะสร้างสถานที่ท่องเที่ยว สำหรับให้ทุกคนได้ถ่ายรูป จึงกลายเป็นจุดกำเนิด พิพิธภัณฑ์ เทดดี้ แบร์ มิวเซี่ยม โดยมีชาวเกาหลีเป็นผู้ออกแบบ และสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้นมา นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่บนเนื้อที่มากกว่า 2,500 ตารางเมตร และ แบ่งเป็นโซนได้ถึง 14 โซนด้วยกัน

เทดดี้แบร์ กิฟช็อป

การเที่ยวชมเทดดี้แบร์สิ้นสุดแต่ความน่ารักของเท็ดดี้แบร์ยังไม่สิ้นสุด ก่อนที่จะเดินทางออกจากพิพิธภัณฑ์ สำหรับคนที่อยากซื้อของที่ระลึกหรือของฝากติดไม้ติดมือ เทดดี้ แบร์ มิวเซี่ยม มีผลิตภัณฑ์ตุ๊กตาหมี เทดดี้แบร์ น่ารักๆและผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมายไว้สำหรับลูกค้าได้เลือกซื้อในราคาย่อมเยาว์
พิพิธภัณฑ์หมีเทดดี้แห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นเทดดี้ แบร์ มิวเซี่ยม แห่งใหม่ที่จะมอบความสุขที่แตกต่างและความประทับใจแบบสุดๆไม่เหมือนกับที่ใดในโลกให้กับทุกท่านที่มาเยี่ยมชม สนุกกับการเก็บภาพตุ๊กตาหมีซึ่งมีมากกว่า 2,000ตัว ตุ๊กตามีหลายขนาดตั้งแต่เล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ซึ่งจะแต่งตัวให้เข้ากับคอนเซ็ปแต่ละโซน พบกับโซนถ่ายภาพมากถึง14โซน โดยแต่ละโซนจะมีคอนเซ็ปที่แตกต่างกันออกไป สามารถสัมผัสความน่ารักของเหล่าเท็ดดี้ได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะอุ้มหรือกอด อุณหภูมิ แสง เสียง ที่ทำให้รู้สึกเหมือนกับเราเข้าไปอยู่ในโลกของเทดดี้จริงๆ
ไฮไลท์จะมีอยู่หลายจุดทั่วพิพิธภัณฑ์ แต่ละโซนภายในพิพิธภัณฑ์จะมีมุมที่สวยงามไว้สำหรับถ่ายรูปเก็บความประทับใจ โดยเฉพาะโซนเทพนิยายเพราะมีเนื้อที่กว้างขวางสามารถนั่งพักผ่อน มีสไลด์เดอร์ไว้ให้เด็กๆขึ้นไปเล่นกัน นอกจากนั้นยังมีบ้านต้นไม้ และสถานที่อื่นๆอีกมากมายที่สามารถสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมแก่ผู้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ เท็ดดี้ แบร์ มิวเซี่ยมของเรา
อย่ารอช้าที่จะมาสัมผัสความน่ารักของเหล่าเท็ดดี้แบร์ที่ เทดดี้ แบร์ มิวเซี่ยม พัทยา
ที่มา...http://teddybearmuseumpattaya.com/

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ น้ำตกมีความสวยงามอยู่ท่ามกลางป่าธรรมชาติ เดินไปยังน้ำตกไม่ไกล ไม่ลำบาก น้ำใส และมีแอ่งน้ำเหมาะกับการเล่นน้ำท่ามกลางแมกไม้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายสำหรับนักท่องเที่ยว สามารถโดยสารรถประจำทางไปได้ และอยู่ไม่ไกลจากตัวจังหวัดเมือง กาญจน์มากนัก

น้ำตกเอราวัณ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ อำเภอศรีสวัสดิ์ อยู่ในแนวลำน้ำแควใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 600 ตารางกิโลเมตร อยู่บนทางหลวงหมายเลข 3199 ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนศรีนครินทร์

น้ำตกเอราวัณ เดิมชื่อ "น้ำตกสะด่องม่องลาย" ที่ได้มาจากต้นน้ำ ชื่อลำธารม่องไล่ และห้วยอมตะลา น้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สายน้ำไหลลงมาจากยอดเขาสูง ผ่านโขดหินผา และป่าที่ปกคลุมด้วยแมกไม้นานาชนิด มารวมกันเป็นแอ่งน้ำเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดเป็นชั้นของนำ้ตก ที่มีความสวยงามแตกต่างกันไป น้ำตกมีด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น มีชื่อเรียกแต่ละชั้นคล้องจองกัน จากชั้นแรกถึงชั้นที่เจ็ดคือ "ไหลคืนรัง วังมัจฉา ผาน้ำตก อกนางผีเสื้อ เบื่อไม่ลง ดงพฤกษา ภูผาเอราวัณ" น้ำตกแต่ละชั้นมีระยะทางแตกต่างกันตั้งแต่ ชั้นต้นๆ เดินไปแค่ไม่กี่ร้อยเมตร จนถึงชั้นบนสุด 1,520 เมตร ซึ่งต้องใช้เวลาเกือบชั่วโมงในการเดินผ่านป่าขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด เป็นหน้าผาทะลุเปิดโล่ง บางช่วงค่อนข้างลำบาก ชัน และลื่นบ้าง ชั้นบนสุดหลายคนบอกว่ารูปร่างผามองดูแล้วคล้ายกับหัวช้างสามเศียรเอราวัณ จนเป็นที่มาของชื่อน้ำตกเอราวัณนั่นเอง

น้ำตกเอราวัณมีลักษณะสวยงามเป็นพิเศษ ตรงที่สีของน้ำเป็นสีฟ้าใส เหมือนสระว่ายน้ำ เนื่องจากเป็นน้ำที่ผ่านมาจากเขาหินปูน ที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตสูง มีคุณสมบัติทำให้สารแขวนลอยตกตะกอน ถ้าสังเกตบริเวณที่ไม่มีคนเล่นน้ำจะเห็นน้ำใสมาก น้ำตกในชั้นต้นๆ เป็นแหล่งน้ำของปลาน้ำตกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ปลาพลวง" ที่มีให้เห็นเป็นจำนวนมาก น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่คนชอบเดินลุยป่าไม่ควรพลาด เพราะ สามารถเดินเลือกเล่นน้ำในแต่ละชั้นที่ต้องการได้ สายน้ำเย็นฉ่ำที่ผ่านโขดหินทำให้น้ำตกมีลักษณะโดดเด่น สวยงามแตกต่างกันในแต่ละชั้น นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เล่นในแอ่งน้ำใส ยังสามารถเดินขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุดได้ด้วย น้ำตกเอราวัณมีน้ำตลอดปี ช่วงหน้าแล้ง ประมาณเดือนธันวาคม - เมษายน อาจมีน้ำน้อยบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับแห้ง

บริเวณที่ทำการอุทยานฯ​ มีการจัดแต่งอย่างเป็นระเบียบ สวยงาม น้ำตกในชั้นต้นๆ อยู่ไม่ไกลกันมากนัก เมื่อต้องการไปยังตัวน้ำตกชั้นแรก ต้องเดินไปอีก 500 เมตร
ชั้นที่ 1 ไหลคืนรัง น้ำตกยังไม่ค่อยสวยมาก เหมาะสำหรับนั่งปิกนิก มีโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งเล่น รับประทานอาหาร ริมน้ำตก
ชั้นที่ 2 วังมัจฉา มีปลาพลวงเวียนว่ายในน้ำใสอยู่เป็นจำนวนมาก แอ่งน้ำสีฟ้า มีม่านน้ำตก ไหลผ่านหินย้อย เหมือนกับนำ้ไหลผ่านปากถ้ำ ลงมายังแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เหมาะกับการลงเล่นน้ำ บางช่วงอาจลึก นักท่องเที่ยวสามารถเช่าชูชีพลงเล่นได้
น้ำตกชั้นที่ 3 ผาน้ำตก ก่อนขึ้นไปยังน้ำตกนี้ จะมีจุดตรวจอาหาร ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม และขวดน้ำ ขึ้นไปจากชั้นนี้เด็ดขาด ต้องฝากเจ้าหน้าที่เอาไว้
ชั้นที่ 4 อกนางผีเสื้อ ทางอุทยานทำทางเดินบันไดไว้อย่างเรียบร้อย แต่เส้นทางค่อนข้างสูงชันอยู่เหมือนกัน ระหว่างทางไปน้ำตกชั้นที่ 4 มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าดิบแล้งม่องไล่ ระยะทาง 1,010 เมตร สามารถเดินแยกไปตามเส้นทางนั้นได้ ชั้นนี้ดูดีๆ จะเห็นหิน 2 ก้อนที่มีลักษณะเหมือนหน้าอกผู้หญิง แต่มีลักษณะใหญ่กว่ามนุษย์ทั่วไป เลยได้ชื่อเป็นอกนางผีเสื้อ (สมุทร) ซะเลย ชั้นนี้มีน้ำไหลตามหินลงมายังแอ่งด้านล่าง สามารถเล่นน้ำได้
จากนี้เส้นทางจะค่อนข้างลำบากขึ้น และเป็นทางชันขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นบนสุด น้ำตก
ชั้นที่ 5 เบื่อไม่ลง เป็นน้ำตกที่ลดหลั่นลงมาแบบเตี้ยๆ เป็นแอ่งตื้นๆ เหมาะกับการแช่น้ำเล่น
ชั้นที่ 6 ดงพฤกษา อยู่ห่างจากชั้น 5 แค่ 300 เมตร มีน้ำตกอยู่หลายมุม ตามแมกไม้ต่างๆ
ชั้นที่ 7 ภูผาเอราวัณ การเดินทางไปถึง ต้องเดินผ่านหิน ปีนบันไดไปอีก เป็นทางที่เหนื่อยอยู่เหมือนกัน แต่ก็คุ้มกับการมาดู เพราะเป็นชั้นที่สูงที่สุดและสวยที่สุด มีสายน้ำที่ตกลงมาจากหน้าผาสูง ผ่านแมกไม้ และแนวหิน มาสู่แอ่งน้ำด้านล่าง

สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมน้ำตกเป็นจำนวนมาก บริเวณที่ทำการอุทยานฯ​ จึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ครบครัน มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ให้คำแนะนำ ข้อมูลข่าวสาร ไว้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีสถานพยาบาล ลานจอดรถกว้างขวาง รถบัสสามารถจอดได้หลายคัน ห้องน้ำ ห้องสุขา ร้านค้าสวัสดิการ ร้านอาหาร (ในราคาไม่แพง) มีร้านกาแฟสด (สำหรับคนขาดกาแฟไม่ได้) มีบ้านพักของอุทยาน (สามารถติดต่อขอจองที่พักได้ล่วงหน้า) สถานที่กางเต็นท์ ห้องประชุมสัมมนา โทรศัพท์สาธารณะ นอกจากนี้ ยังมีบริการให้เช่าเสื้อชูชีพสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความปลอดภัยเวลาลงเล่นน้ำในน้ำตกด้วย

ข้อแนะนำ
- ไม่นำภาชนะโฟม ขวดแก้ว และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในบริเวณน้ำตก
- ไม่นำกีต้าร์เข้าไปในบริเวณน้ำตก
- ไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในน้ำตก
- เส้นทางเดินไปน้ำตกนั้น บางช่วงลาดยางเดินได้สะดวก แต่ส่วนที่เดินไปยังน้ำตกแต่ละชั้นนั้น เป็นเส้นทางที่มีดินและหินตามธรรมชาติ จึงควรสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม เดินได้สะดวก ไม่ลื่น
- การเดินขึ้นน้ำตกชั้นสูงๆ ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพขา เข่า เพราะบางช่วงทางเดินค่อนข้างชัน


ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานเอราวัณ
- คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท (มีบัตรนักศึกษาลดครึ่งราคา)
- ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท และเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ราคา 100 บาท
- พาหนะเสียค่าธรรมเนียมด้วย จักรยาน คันละ 10 บาท มอเตอร์ไซด์ 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
หมู่4 ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์
เวลาทำการ: 7.00 - 16.30 น.
โทร 034-574-222, 034-574-234
เวปไซต์และการจองที่พัก http://www.dnp.go.th/

การเดินทางไปน้ำตกเอราวัณ
ส่วนใหญ่จะใช้ทางไปเขื่อนศรีนครินทร์ เพราะระยะทางใกล้กว่า สำหรับคนที่ไปเที่ยวในแถบอำเภอไทรโยคก็สามารถเลี้ยวมาทางถนนที่เชื่อมต่อกับอำเภอศรีสวัสดิ์ที่แยกทับศิลา

รถยนต์ (เส้นทางที่ 1 ไปทางอำเภอศรีสวัสดิ์)
ตัวเมืองกาญจนบุรี - น้ำตกเอราวัณ 68 กิโลเมตร
น้ำตกเอราวัณ - เขื่อนศรีนครินทร์ 8 กิโลเมตร
น้ำตกเอราวัณ - น้ำตกห้วยขมิ้น 46 กิโลเมตร

- จากตัวเมืองกาญจนบุรี วิ่งบนถนนแสงชูโตที่เป็นถนนสายหลัก ถึงสี่แยกแก่งเสี้ยน ตรงไปทางอำเภอศรีสวัสดิ์ (ทางหลวงหมายเลข 3199) ตรงไปเรื่อยๆ ผ่านแยกลาดหญ้า ค่ายฝึกนักศึกษาวิชาทหาร สนามกอล์ฟนิจิโกะ วัดท่ามะนาว ข้ามสะพานห้วยลำสะด่อง (เริ่มเข้าเขตอำเภอศรีสวัสดิ์)
- เจอทางเข้าเขตเขื่อนศรีนครินทร์ ให้ขับไปถนนทางซ้าย เลียบลำน้ำแควใหญ่ ผ่านด่านของ กฟผ. จะเจอสามแยก ให้เลี้ยวซ้ายข้ามแม่น้ำแควใหญ่ไปทางน้ำตกห้วยขมิ้น เจอตลาดเทศบาลเอราวัณ เลี้ยวซ้ายไปทางตลาด เพื่อไปทางขึ้นน้ำตก
- จากตลาดวิ่งไปอีกประมาณ​ 3 กิโลเมตร จะถึงบริเวณที่ทำการอุทยานฯ จากนั้นต้องเดินไปอีก 500 เมตรจึงจะถึงตัวน้ำตก

รถยนต์ (เส้นทางที่ 2 ไปทางอำเภอไทรโยค)
ตัวเมืองกาญจนบุรี - น้ำตกเอราวัณ 96 กิโลเมตร

- จากตัวเมืองกาญจนบุรี วิ่งบนถนนแสงชูโตที่เป็นถนนสายหลัก ถึงสี่แยกแก่งเสี้ยน เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายอำเภอไทรโยค - ทองผาภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 323)
- ถึงสามแยกทับศิลา ให้เลี้ยวขวาไปทางน้ำตกเอราวัณ (เข้าทางหลวง 3457) เป็นทางลาดยางดี เป็นระยะทาง 39 กิโลเมตร เส้นนี้จะมาบรรจบกับเส้น 3199 ที่แยกโป่งปัด ให้เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอศรีสวัสดิ์ (จากแยกนี้ไปถึงน้ำตกเอราวัณอีก 26 กิโลเมตร)
- เจอทางเข้าเขตเขื่อนศรีนครินทร์ ให้ขับไปถนนทางซ้าย เลียบลำน้ำแควใหญ่ ผ่านด่านของ กฟผ. มาจะเจอสามแยก ให้เลี้ยวซ้ายข้ามแม่น้ำแควใหญ่ไปทางน้ำตกห้วยขมิ้น เจอตลาดเทศบาลเอราวัณ เลี้ยวซ้ายไปทางตลาด เพื่อไปทางขึ้นน้ำตก
- จากตลาดวิ่งไปอีกประมาณ​ 3 กิโลเมตร จะถึงบริเวณที่ทำการอุทยานฯ จากนั้นต้องเดินไปอีก 500 เมตรจึงจะถึงตัวน้ำตก

รถโดยสารประจำทาง
- ขึ้นรถสายกาญจนบุรี-เอราวัณ จากสถานีขนส่ง ถ.แสงชูโต มายังอุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีรถออกทุกๆ ประมาณหนึ่งชั่วโมง ตั้งแต่ 8.00 - 17.20 น. เป็นรถธรรมดา (ไม่ปรับอากาศ) อัตราค่าโดยสาร 50 บาทต่อคน ใช้เวลาในการ เดินทางประมาณชั่วโมงครึ่ง ส่วนรถเที่ยวกลับมีประมาณทุก 2 ชั่วโมง รถเที่ยวสุดท้ายออกจากที่ทำการอุทยานฯ เวลา 16.00 น.
ที่มา...http://www.kanchanaburi.co/th/specific-place/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93/

ปรากฏการณ์ทางทะเล

 ปรากฏการณ์ที่พี่มิ้นท์พูดมาเป็นแค่ตัวอย่างอันน้อยนิดเท่านั้น เพราะวันนี้พี่มิ้นท์รวบรวมปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในท้องทะเลมาฝากไว้หลายเหตุการณ์เลย แอบสปอยล์นิดนึงว่ามีของประเทศไทยด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเล้ยย

    
ทะเลสาหร่าย
                ทะเลก็มีส่าหร่ายอยู่แล้วนี่คะ ไม่น่าแปลกอะไร?
                อย่าเพิ่งด่วนตัดสินค่ะ เพราะเหตุการณ์นี้คือทะเลที่เต็มไปด้วยสาหร่ายจริงๆ โดยมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าปรากฏการณ์การระเบิดของสาหร่าย (algae bloom) หรือบางทีก็เรียกว่า น้ำขึ้นน้ำลงมรกต(green tide) ค่ะ
ปรากฏการณ์ทางทะเล ทั้งสวย แปลก และน่ากลัว
                ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่ทะเลเหลือง ประเทศจีน ซึ่งสาหร่ายนี้เป็นแพลงตอนพืช Enteromorpha prolifera เราสามารถพบได้ในทะเลทั่วโลก แต่มันจะเติบโตเร็วมากๆ เมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม คือ น้ำทะเลมีอุณหภูมิที่อุ่น น้ำมีแร่ฟอสฟอรัสและไนโตรเจนสูง ทะเลแบบนี้ไม่อันตรายนะคะ แต่อาจจะมีกลิ่นเหม็นอยู่พอสมควร มีใครอยากลองทำสปาบ้างมั้ย ฮ่าๆ

    
ทะเลสีเลือด
             ในต่างประเทศมีเหตุการณ์แบบนี้อยู่หลายที่เลยค่ะ เอาที่ไม่นานมานี้ ชายหาดบอนได ประเทศออสเตรเลีย ก็เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีแดง
ปรากฏการณ์ทางทะเล ทั้งสวย แปลก และน่ากลัว
              สาเหตุก็มาจากที่ช่วงนั้นมีปริมาณธาตุอาหารในน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสาหร่ายที่อยู่บริเวณนั้นเจริญเติบโตอย่างเต็มที่และแพร่พันธุ์จำนวนมาก จนเปลี่ยนสีน้ำทะเลให้กลายเป็นสีแดงไป ซึ่งสีของน้ำสามารถเปลี่ยนเป็นสีอื่นๆ ได้อีกตามชนิดของแพลงตอนพืช เช่น สีน้ำตาล สีเขียว หรือสีเหลืองทอง

    
ทะเลแมงกะพรุน
              เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ จ.ตราด ประเทศไทย มีแมงกะพรุนจำนวนมาก(นับไม่ถูกเลยทีเดียว) ออกมาแหวกว่ายอยู่เต็มท้องทะเล กินพื้นที่เป็นกิโลๆ ซึ่งเป็นฮือฮาจนมีคนตามไปดูให้เห็นกับตาจนเป็นข่าวดังไปเลย แมงกะพรุนที่เห็นนั้นมีหลายชนิด ทั้งแมงกะพรุนโตนด แมงกะพรุนลอดช่อง แมงกะพรุนถ้วย ซึ่งจะมีสีใสๆ อมชมพู หรือฟ้า
ปรากฏการณ์ทางทะเล ทั้งสวย แปลก และน่ากลัว
              ความจริงแล้วปรากฎการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วในช่วงปลายฝนต้นหนาว ถ้าวันไหนคลื่นลมและคลื่นสงบ แมงกะพรุนเหล่านี้ก็จะอยู่รวมกลุ่มกันแบบนี้แหละค่ะ แต่ถ้ากระแสลมและคลื่นแรงก็จะอยู่แบบกระจายตัว สรุปแล้วปรากฏการณ์นี้ไม่มีความผิดปกติใดๆ ทั้งนั้น

   
 ทะเลโฟม
               แว๊บแรกที่เห็นทะเลโฟม ชวนให้นึกถึงฟองนมในกาแฟ (พูดแล้วหิว) โดยทะเลที่ว่านี้เกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อมีคลื่นพัดจากทะเลเข้ามาชายฝั่งแล้วแตกตัวเป็นฟองโฟมลอยแผ่เต็มทะเล
ปรากฏการณ์ทางทะเล ทั้งสวย แปลก และน่ากลัว
               แม้ว่าจะดูเหมือนฟองสบู่น่าลงไปเล่น แต่ขอบอกว่าที่มาของมันอาจทำให้เปลี่ยนใจไปเลย เพราะมันเกิดจากสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกสารเคมี ของเสีย ซากเน่าเปื่อยทั้งหลาย เมื่อมีฝนตกลงมาอย่างหนัก น้ำฝนก็ได้ชะล้างลงสู่ทะเล เมื่อเกิดคลื่นก็เหมือนไปเขย่าสิ่งสกปรกให้เข้ากับคลื่นจนกระทั่งมันเป็นฟองแบบที่เห็น ยังกล้าเล่นกันอยู่มั้ยล่ะ

      
 ทะเลเรืองแสง
              บนโลกใบนี้ดูจะมีสิ่งเรืองแสงที่เป็นธรรมชาติอยู่ไม่กี่อย่างและหนึ่งในนั้นก็คือ หิ่งห้อย แต่นับจากนี้หิ่งห้อยจะดูธรรมดาไปแล้วค่ะ เมื่อได้เจอกับทะเลเรืองแสงที่มัลดีฟส์
ปรากฏการณ์ทางทะเล ทั้งสวย แปลก และน่ากลัว
              ภาพถ่ายนี้เป็นฝีมือของช่างภาพ ดั๊ก เพอร์รีน ที่สามารถถ่ายภาพปรากฏการณ์น้ำทะเลเรืองแสงไว้ได้ โดยทะเลเรื่องแสงที่ว่านี้เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลมีสารเคมีเรืองแสงและได้ปล่อยพลังงานของปฏิกิริยาเคมีออกมาจนทำให้เกิดแสง เมื่อคลื่นขนาดเล็กพัดเข้าชายฝั่งจึงเกิดประกายเรืองแสงวาววับได้สวยงามเช่นนี้นั่นเอง เหมือนอยู่ในนิทานเลยเนอะ

              เป็นยังไงบ้างคะกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องทะเล หากจะถามว่าน้องๆ ชอบอันไหนก็คงไม่ใช่เรื่อง ต้องถามว่า "คิดว่าอันไหนแปลกที่สุด" จะเหมาะสมกว่า เพราะแต่ละอย่างที่เอามาให้ดู ถ้าได้เห็นด้วยตาตัวเอง คงสตั๊นท์อ้าปากค้างไป 10 นาทีเลยล่ะค่ะ โดยเฉพาะทะเลส่าหร่าย แค่เห็นก็รู้สึกมันหยึ๋ยมากเลย ><
ที่มา..https://www.dek-d.com/education/31070/

ออโรรา


ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด

ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ

ความหมายของชื่อ[แก้]

แสงเหนือ ตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642)
คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light) ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้

สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา[แก้]

ในเขตที่มีการปรากฏของออโรรา สามารถสังเกตออโรราได้ทุกคืนที่ฟ้าโล่งในฤดูหนาว โดยมีข้อสังเกตดังนี้
  • ออโรราจะปรากฏบ่อยครั้ง ตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึง เที่ยงคืน
  • ออโรราจะสว่างจ้าในช่วง 27 วันที่ดวงอาทิตย์หันด้านแอคทีฟ (Active Area) มายังโลก
  • ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการชมออโรราทางซีกโลกเหนือ
  • ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปีสำหรับการเกิดจุดดับมากที่สุดกับการเกิดออโรรามากที่สุด
ตารางที่ 1 แสดงความถี่ในการปรากฏออโรราในสถานที่ต่างๆทั่วโลก
  • ออโรราจะปรากฏลดลง 20-30% กว่าตอนที่เกิดจุดสุริยะมากที่สุด เมื่อเกิดจุดสุริยะบนดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
ออโรราจะปรากฏในแถบประเทศเมดิเตอเรเนียนเมื่อเกิดจุดสุริยะหรือมีลมสุริยะมากๆ อาจถึง 10 ปีต่อครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วเกิด 100 ปีต่อครั้ง
สถานที่ความถี่ในการปรากฏ
เมือง Andenes ประเทศนอร์เวย์เกือบทุกคืนที่ฟ้าโล่ง
เมือง Fairbanks รัฐอลาสกา5 – 10 ครั้งต่อเดือน
เมือง Oslo ประเทศนอร์เวย์3 คืนต่อเดือน
สกอตแลนด์เหนือเดือนละครั้ง
พรมแดนสหรัฐ/แคนาดา2 – 4 ครั้งต่อปี
เม็กซิโก และ เมดิเตอเรเนียน1 – 2 ครั้งใน 10 ปี
ประเทศตอนใต้ทะเลเมดิเตอเรเนียน1 – 2 ครั้งในศตวรรษ
แถบศูนย์สูตร1 ครั้งในรอบ 2000 ปี

สถานที่ปรากฏออโรรา[แก้]

บริเวณที่เกิดออโรราเป็นบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก เมื่อออโรราสงบ รูปไข่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กิโลเมตร แต่เมื่อเกิดออโรรารุนแรงขึ้น รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรรา โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลก (hemisphere) ตะวันตก ส่วนออโรราออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์

เสียงของออโรรา[แก้]

มีข้อโต้เถียงกันมานานเกี่ยวกับเสียงของออโรราว่ามันสามารถได้ยินโดยผู้สำรวจบนพื้นโลกหรือไม่ คลื่นเสียงนั้นมีความถี่ประมาณ 340 เมตรต่อวินาทีในอากาศบนระดับพื้นโลก แต่ที่ความสูง 80 ถึง 500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ออโรราปรากฏนั้นอยู่ใกล้สุญญากาศมาก ทำให้เป็นเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดเสียงขึ้น กระนั้น ก็มีรายงานมากมายว่าได้ยินเสียงระหว่างเกิดออโรรา เสียงที่ได้ฟังนั้น ไม่ใช่เป็นเสียงที่บันทึกจากออโรราโดยตรง แต่เป็นเสียงที่บันทึกจาก แมกนีโตมิเตอร์ (Magnetometer) เสียงที่เปลี่ยนไปคือการเปลี่ยนไปของสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากอนุภาคสุริยะ (Solar Particles)

แหล่งที่มาและระดับพลังงานของอนุภาค[แก้]

ออโรราที่ปรากฏนั้นเกิดจากอนุภาคมีพลังงานเคลื่อนที่ตามเส้นสนามแม่เหล็กมาจากเมกนีโตเทล (Magnetotail) มาสู่บรรยากาศชั้นบน อนุภาคส่วนใหญ่คืออิเล็กตรอน แต่โปรตอนและไอออนอื่น ก็อาจพบได้ เมื่ออนุภาคมีประจุ (Charged Particles) พุ่งมาจาก แมกนีโทสเฟียร์ (Magnetosphere) มาสู่บรรยากาศชั้นบน จะเกิดการชนกับแก๊สที่ไม่มีความสำคัญอะไรที่นั่น
อนุภาคออโรราเป็นเพียงหนึ่งในหลายอนุภาคมีประจุที่กระหน่ำมายังโลก รวมถึงอนุภาคที่มีพลังงานฟลักซ์มหาศาลในช่วง พันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) หรือล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) อย่างเช่น รังสีคอสมิค (Cosmic Rays) อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสี (Radiation Belt) พลังงานสูง และอนุภาคสุริยะ (Solar Energetic Particles) ส่วนอนุภาคออโรรานั้นเกิดขึ้นในแผ่นพลาสมาแม่เหล็ก (Magnetospheric Plasma Sheet) และมีพลังงานอยู่ในช่วง 1 ถึง 10 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) แต่บางทีอาจมีพลังงานมากถึง 100 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) และอนุภาคพลังงานต่ำ เช่น ลมสุริยะที่เข้าสู่แมกนีโตสเฟียร์ทาง ซีกโลกกลางวัน (Dayside Cusp ) ใกล้กับขั้วแม่เหล็กโลก เป็นต้น ความลึกที่อนุภาคเหล่านี้จะเจาะเข้าไปในชั้นบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับพลังงานของมัน ยิ่งพลังงานมากยิ่งเข้าได้ลึก รังสีคอสมิค สามารถเดินทางไปถึงชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) หรืออาจลึกไปถึงพื้นโลก อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสีและอนุภาคสุริยะพลังงานสูง เข้ามาได้ถึงชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) และชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) ส่วนออโรรานั้นมาได้แค่ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) ซึ่งสูงประมาณ 100 กิโลเมตร นั่นทำให้ออโรราเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศนี้

สีของออโรรา[แก้]

ดวงอาทิตย์ปล่อยแสงทุกสีที่มองเห็นได้ออกมาก ทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาว ส่วนสเปคตรัมของออโรรา ก่อนจะศึกษารายละเอียด เราต้องรู้เรื่อง สาเหตุการเกิดแสงก่อน
ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรรา
แสงสีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร แสงเหนือสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ส่วนสีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร เมื่อเกิดพายุสุริยะ 000 แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร
เมื่อออโรราจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมา และสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา
เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสด และ สีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆ
เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่ส ว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว

ความสูงของออโรรา (จากพื้นโลก)[แก้]

ตั้งแต่ปี 1915 เป็นต้นมา ความสูงของออโรราเป็นที่โต้เถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์ จนในปี ค.ศ. 1910 – 1940 คาร์ล สตอร์เมอร์ (Carl Størmer) ได้ใช้หลักการพาราแล็กซ์ (Parallax) ในการวัดขนาด นักสำรวจ 2 คนที่ความสูง 50 ถึง 100 กิโลเมตรโดยใช้ภาพออโรรา 2 ภาพที่ถ่ายในเวลาเดียวกัน และใช้แผนที่ดวงดาว อ่านขนาดมุม และคำนวณหาความสูง
ภาพพาราแล็กซ์กว่า 20000 ภาพ ทำให้สตอร์เมอร์คำนวณความสูงของออโรราอย่างแม่นยำ ออโรราในยามค่ำคืนจะพบที่ความสูง 90 ถึง 150 กิโลเมตร มีบางส่วนที่อาจแผ่กว้างถึง 500 กิโลเมตร แต่โดยเฉลี่ย มีความสูงที่ 100 ถึง 120 กิโลเมตร
เราใช้เครื่องวัดแสง ที่เรียกว่า ออโรรา โฟโตมิเตอร์ (Aurora Photometre)

ออโรราในดาวดวงอื่น[แก้]

นอกจากออโรราจะปรากฏในโลกแล้ว ยังปรากฏในดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก ทั้งออโรราของดาวพฤหัสและดาวเสาร์ปล่อยอะตอมในบรรยากาศที่ถูกกระตุ้นโดยพลังงาน อนุภาคมีประจุล้วนเกิดจากแมกนีโตสเฟียร์ของดาวนั้นๆ แมกนีโตสเฟียร์จึงต่างจากโลกมาก รวมทั้งสีและการปรากฏของออโรราก็ไม่เหมือนกับในโลก แต่รูปไข่ยังเหมือนกับโลกอยู่ การเกิดออโรราจึงเหมือนกันทั้งระบบสุริยะจักรวาล
นอกจากนี้ ยังมีออโรราของดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวอังคารอีกด้วย

ดวงอาทิตย์ กับ ออโรรา[แก้]

ดวงอาทิตย์ ก็มีชั้นบรรยากาศ และ สนามแม่เหล็กเช่นกัน ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจน ซึ่งตัวมันเองก็ประกอบด้วยอนุภาคย่อย: โปรตอน กับ อิเล็กตรอน อนุภาคเหล่านี้ ถูกเผาไหม้โดยดวงอาทิตย์
ลมเหล่านี้มักจะถูกผลักเมื่อมาชนกับสนามแม่เหล็กโลก และเปลี่ยนรูปร่าง เหมือนกับเราเปลี่ยนรูปร่างของฟองสบู่เมื่อเราเป่าบนพื้นผิวมัน เราเรียกบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) โดยปรากฏการณ์จะเกิดในด้านกลางวันของโลก ซึ่งลมสุริยะจะพัดมาเฉพาะทางนี้ และจะเรียวตรงเป็นหางเหมือนรอยน้ำหลังเรือแล่น เราเรียกมันว่า เม็กนีโทเทล (Magneto tail) และแน่นอน มันชี้ไปด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์
เมื่อเกิดการบีบอัดกับสนามแม่เหล็กโลกต้องใช้พลังงาน เหมือนกับเราต้องใช้พลังงานในการกดลูกโป่งที่มีลมอยู่ข้างใน กระบวนการทั้งหมดยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต
ตอนนี้เรามีชั้นเม็กนีโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นที่ที่ลมสุริยะถูกบีบอัด และ อนุภาคมีประจุก็แผ่ไปทุกที่ในสนามแล้ว อนุภาคสุริยะจากลมสุริยะ มักจะกลับเข้าสู่หางของ เม็กนีโทสเฟียร์และพุ่งตรงไปยังดวงอาทิตย์ และจากนั้น ถ้าเงื่อนไขนี้ถูกต้อง ความกดดันจากลมสุริยะก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า ระ โวลต์ ความต่างศักย์นี้ จะผลักอิเล็กตรอน (ซึ่งมีแสงสว่าง) พุ่งสู่ขั้วแม่เหล็กโลก ด้วยความเร็วที่สูง เหมือนอิเล็กตรอนในโทรทัศน์ ที่พุ่งตรงมาชนกับจอภาพ มันเคลื่อนไปตามสนามอย่างเร็วสู่พื้นโลก ทั้งเหนือและใต้ จนกระทั่งอิเล็กตรอนจำนวนมหาศาลถูกผลักลงสู่ชั้นบรรยากาศข้างบน คือ ชั้น ไอโนโนสเฟียร์ (Ionosphere) ในชั้นนี้ อิเล็กตรอนจะพุ่งเข้าชนกับอะตอม ซึ่งทำให้อะตอมของแก๊สเกิดพลังงาน และปล่อยทั้งแสง และ อิเล็กตรอนตัวอื่นอีก และทำให้เกิดแสงในชั้นบรรยากาศนี้และชักนำให้กรมือนตอนที่มันพุ่งเข้ามา เพราพลังงานเหล่านี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของออโรรา ออโรรา มีลักษณะคล้ายกับ นีออน เว้นแต่ออโรรา เกิดกับแก๊สในชั้น ไอโอโนสเฟียร์ แทนที่จะเกิดในหลอดแก้ว และกระแสวิ่งกลับเข้าออกระหว่างสนามแม่เหล็ก แทนที่จะเป็น ลวดตะกั่ว

ปรากฏการณ์สำคัญบนดวงอาทิตย์[แก้]

  • การปล่อยก้อนมวลจากดวงอาทิตย์ (CME) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์มีการปลดปล่อยมวลออกมา อนุภาคไฟฟ้าพลังงานสูงจะถูกปลดปล่อยออกมาด้วความเร็วสูงนับพัน กิโลเมตรต่อวินาที ปรากฏการณ์ CME นี้มักจะเกิดร่วมกับ Solar Flare หรือ Prominence (เป็นปรากฏการณ์คล้ายเปลว)
  • การประทุที่ดวงอาทิตย์ (Solar Flare) เป็นการระเบิดรุนแรงบนชั้น Chromospheres เกิดขึ้นบริเวณที่มี Sun Spot ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นขั้วของสนามแม่เหล็กแบบคู่ขั้ว Solar Flare ให้พลังงานสูงมาก (ประมาณว่าเท่ากับระเบิดไฮโดรเจนขนาด 100 เมกกะตันจำนวน 1 ล้านลูกรวมกัน) เนื่องจาก Solar Flare มีพลังงานสูงมาก การส่งพลังงานออกมามักอยู่ในย่านความถี่ของอัลตราไวโอเลตและรังสีเอกซ์ จึงสังเกตได้ยากภายใต้ย่านความถี่ของแสงขาว แต่เห็นได้ชัดเจนในย่านความยาวคลื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว อุณหภูมิของ Solar Flare จะสูงหลายล้านเคลวิน และส่งอนุภาคประจุไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงกว่าปรกติออกมาอย่างมากมาย เกิดเป็นลมสุริยะที่มีกำลังแรงผิดปรกติ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นพายุสุริยะ (Solar Storm)
  • ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ที่มีมากที่สุด (Solar Maximum) เป็นคาบของปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ที่ทุก 11 ปี เมื่อจุดบนดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งมีจุดสุริยะมากเพียงใด อนุภาคสุริยะยิ่งถูกปลดปล่อยมามากเท่านั้น ปรากฏการณ์นี้เกิดล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2544 – 2545 และจะเกิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 - 2555
  • จุดสุริยะ (Sunspot) เป็นจุดที่เกิดจากสนามแม่เหล็กบนผิวดวงอาทิตย์ที่หนาแน่นมาก อุณหภูมิบริเวณนี้จะเย็นกว่าบริเวณใกล้เคียง (เย็นกว่าประมาณ 1000 องศา) และมีสีดำกว่า จุดสุริยะนี่เองเมื่อถูกส่งออกมาสู่อวกาศ อนุภาคจะถูกสนามแม่เหล็กโลกดึงไว้และเกิดเป็นออโรรา
  • ลมสุริยะ (Solar Wind) เป็นแก๊สของอิเล็กตรอนและไอออนที่วิ่งมาด้วยความเร็วเหนือเสียง (Supersonic) ยิ่งมีลมสุริยะมากเท่าไร ออโรราก็เข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้นเท่านั้น

ออโรรากับวิถีชีวิต[แก้]

การศึกษาพายุสุริยะในเวลาต่อมาได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า พายุนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่ง เพราะเมื่อเรารู้ว่า เปลวก๊าซร้อนที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น นำอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าออกมากมายด้วย ดังนั้น เมื่ออนุภาคเหล่านี้พุ่งถึงชั้นบรรยากาศ เบื้องบนของโลก ถ้าขณะนั้นมีนักบินอวกาศ ร่างกายของนักบินอวกาศคนนั้นก็จะได้รับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าและรังสีต่างๆ มากเกินปกติ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ พายุอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าอาจพุ่งชนดาวเทียมที่กำลังโคจรอยู่รอบโลกจนทำให้ดาวเทียมหลุดกระเด็นออกจากวงโคจรได้ และถ้าอนุภาคเหล่านี้พุ่งชนสายไฟฟ้าบนโลก ไฟฟ้าในเมืองทั้งเมืองก็อาจจะดับ ดังเช่นเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่เมืองควิเบก ในประเทศแคนาดาเป็นเวลานาน 9 ชั่วโมง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 เพราะโลกถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำอย่างรุนแรง
ความจริงเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 11 ปีมาแล้ว แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์รู้อีกว่า ทุกๆ 11 ปีจะเกิดเหตุการณ์พายุสุริยะ ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์อีก ดังนั้นปี พ.ศ. 2543 จึงเป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์คาดหวังจะเห็นโลกถูกดวงอาทิตย์คุกคามอย่างหนักอีก ครั้งหนึ่ง และเมื่อขณะนี้โลกมีดาวเทียมที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 800 ดวงและสหรัฐอเมริกาเองก็มีโครงการจะส่งนักบินอวกาศ ขึ้นไปสร้างสถานีอวกาศนานาชาติในปีนั้นอีกเช่นกัน บุคลากรและดาวเทียมเหล่านี้จึงมีโอกาสถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำ จนเป็นอันตรายได้ ก็ในเมื่อเวลาพายุไต้ฝุ่นหรือทอร์นาโดจะพัด เรามีสัญญาณเตือนภัยห้ามเรือเดินทะเลและให้ทุกคนหลบลงไปอยู่ห้อง ใต้ดิน จนกระทั่งพายุพัดผ่านไป การเตือนภัยพายุสุริยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน เพราะถ้าเรารู้ว่าพายุสุริยะกำลังจะมาถึงโลก โรงไฟฟ้า ก็ต้องลดการผลิตกระแสไฟฟ้า คือไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากเครื่องเต็มกำลังเพราะถ้าไฟฟ้าเกิดช็อต ภัยเสียหายก็จะไม่มาก ดังนั้น การแก้ไขล่วงหน้าก็จะสามารถทำให้ความหายนะลดน้อยลง แต่ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสภาวะของอวกาศ วันนี้ก็ดีพอๆ ความสามารถของนักอุตุนิยมวิทยาที่สามารถทำนายสภาพของอากาศ บนโลก เมื่อ 40 ปีมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์สภาวะแวดล้อมของอวกาศ (Space Environment Center) ขึ้นมา โดยให้นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทำนายสภาพของอวกาศล่วงหน้า และผลงานการพยากรณ์เท่าที่ผ่านมาได้ทำให้เรารู้ว่า คำพยากรณ์นี้มี เปอร์เซ็นต์ถูกถึง 90% ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในหนึ่งชั่วโมง แต่เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดก็จะสูง ถ้าเป็นกรณีการทำนายล่วงหน้า หลายวัน
เพื่อให้คำทำพยากรณ์ต่างๆ มีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากขึ้น องค์การนาซาของสหรัฐฯ จึงได้วางแผนส่งดาวเทียมดวงใหม่ขึ้น อวกาศเพื่อสำรวจสถานภาพของพายุสุริยะทุกลูกที่จะพัดจากดวงอาทิตย์สู่โลกในอีก 11 ปี ข้างหน้านี้
ความรู้ปัจจุบันที่เรามีอยู่ขณะนี้คือ ผลกระทบของพายุสุริยะจะรุนแรงอย่างไร และเช่นไร ขึ้นกับ 3 เหตุการณ์ต่อไปนี้ คือ
  • เหตุการณ์แรกเกี่ยวข้องกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งเป็นบริเวณผิวดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณส่วนอื่น และเป็น บริเวณที่สนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์สามารถทะลุออกจากดวงอาทิตย์ออกมาสู่อวกาศภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อเกิดการระเบิดที่ผิวดวงอาทิตย์ในบริเวณนี้ กระแสอนุภาคจะถูกผลักดันออกมาตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กนี้มาสู่โลก และเมื่อกระแสอนุภาคจากจุดดับพุ่งชนบรรยากาศเบื้องบนของโลก มันจะปะทะอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก (Ionosphere) การชนกันเช่นนี้จะทำให้เกิดกระแสประจุซึ่งมีอิทธิพลมากมายต่อการสื่อสารทางวิทยุ
  • เหตุการณ์สองที่มีอิทธิพลทำให้สภาวะของอวกาศระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ปรวนแปร ในกรณีมีพายุสุริยะที่รุนแรงคือ ชั้นบรรยากาศ ของโลกอาจจะได้รับรังสีเอกซ์มากกว่าปกติถึง 1,000 เท่า รังสีเอกซ์นี้ จะทำให้อิเล็กตรอนที่กำลังโคจรอยู่รอบอะตอม กระเด็นหลุดออก จากอะตอม และถ้าอิเล็กตรอนเหล่านี้ชนยานอวกาศ ยานอวกาศก็จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง ซึ่งจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในยานเสีย และนั่นก็หมายถึงจุดจบของนักบินอวกาศ
  • ส่วนเหตุการณ์สาม ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มก๊าซร้อนหลุดลอยมาถึงโลก และเมื่อมันพุ่งมาถึงโลก สนามแม่เหล็กในก๊าซร้อนนั้นจะบิดเบนสนามแม่เหล็กโลก ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในชั้นบรรยากาศของโลกอย่างมากมาย กระแสไฟฟ้านี้ จะทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น มันจึงขยายตัว ทำให้ยานอวกาศที่เคยโคจรอยู่เหนือบรรยากาศ ต้องเผชิญแรงต้านของอากาศ ซึ่งจะมีผลทำให้ยานมีความเร็วลดลงแล้วตกลงสู่วงโคจรระดับต่ำ และตกลงโลกเร็วกว่ากำหนด
  • ที่มา..https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2_(%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)
น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ จำนวน 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร สายน้ำไหลลดหลั่นเป็น ธารน้ำตกกว้างคล้ายแก่งขนาดใหญ่ มีอ่างน้ำตื้นๆ หลายแห่งที่สามารถลงเล่นน้ำได้ น้ำตกชั้นที่สวยงาม ที่สุด คือชั้นที่ 4 ช่วงที่สวยงามที่สุดของน้ำตกจะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน – เมษายน เพราะน้ำใสและ ยังปลอดภัย แก่ผู้ลงเล่นน้ำเนื่องจากน้ำไม่เชี่ยวเหมือนในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
น้ำตกเจ็ดสาวน้อย
น้ำตกเจ็ดสาวน้อย มีต้นกำเนิดมาจาก ลำห้วยมวกเหล็ก เป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ตลอดสายน้ำที่ ไหลผ่านในพื้นที่มีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร มีเกาะแก่งที่ไม่สูงมากนักลดหลั่นกันไป
น้ำตกเจ็ดสาวน้อยน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
น้ำตกเจ็ดสาวน้อยน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
ขอบคุณภาพน้ำตกเจ็ดสาวน้อยจากคุณใหญ่ http://yyii4949.multiply.com
อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยไม่มีบ้านพักให้บริการ หากมีความประสงค์จะเดินทางไป พักแรมเพื่อพักผ่อน หย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
หมู่ 9 บ้านแก่งหลุ ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 18180
โทรศัพท์ 0 3634 4416 โทรสาร 0 3634 4416 อีเมล reserve@dnp.go.th
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว 
จังหวัดสระบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามถนนพหลโยธิน ระยะทาง 108 กิโลเมตร และตามทางรถไฟ สายตะวัน ออกเฉียงเหนือระยะทาง 113 กิโลเมตร จากตัวเมืองสระบุรีโดยใช้เส้นทางสายหลัก คือ ถนนมิตรภาพ ผ่าน อำเภอแก่งคอยไปมวกเหล็ก ระยะทางจากตัวเมืองสระบุรี ถึงทางแยกเข้าสู่ทางหลวงสายมวกเหล็ก-หนองย่างเสือ ระยะทาง 41 กิโลเมตร จากทางแยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ด้าน ขวาตรงข้ามวัดน้ำตกเจ็ดสาวน้อย 
2. รถโดยสารประจำทาง 
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางเส้นทางกรุงเทพ-สระบุรี หรือกรุงเทพฯ – ลพบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง รถจะไปจอดส่งผู้โดยสารที่สถานีขนส่งสระบุรี จากนั้นนั่งรถโดยสารสระบุรี-แก่งคอย – มวกเหล็ก ใช้เวลา ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที รถจะไปจอดส่งผู้โดยสารที่หน้าอุทยานแห่งชาติ หรือโดยสารรถ โดยสารเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ลงที่ตลาด อ.ส.ค. จากนั้นต่อรถโดยสาร ประจำทาง สายสระบุรี-แก่งคอย-มวกเหล็ก ไปลงหน้าอุทยานแห่งชาติ
3.รถไฟ
การเดินทางโดยรถไฟ ต้องนั่งรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ รถจะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีสระบุรี สถานีแก่งคอย และสถานีมวกเหล็ก จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทาง สายสระบุรี – แก่งคอย-มวกเหล็ก ไปลงหน้าอุทยานแห่งชาติImage result for น้ำตกเจ็ดสาวน้อย
ที่มา..http://www.paiduaykan.com/76_province/central/saraburi/jedsaonoi-waterfall.html

สตรอว์เบอร์รี่

สตรอว์เบอร์รี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตรอว์เบอร์รี
ผลของสตรอว์เบอร์รี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Rosales
วงศ์:Rosaceae
วงศ์ย่อย:Rosoideae
เผ่า:Potentilleae
เผ่าย่อย:Fragariinae[1]
สกุล:Fragaria
L.
สปีชีส์
มีมากกว่า 20 ชนิด
สตรอเบอร์รี (อังกฤษstrawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก

รูปลักษณะ[แก้]

เป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม[แก้]

ไร่สตรอว์เบอร์รี
ผลสตรอว์เบอร์รีที่ยังไม่นำออกจากต้น
  • พื้นที่ที่มีระดับความจากน้ำทะเล800เมตร
  • พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
  • พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์

ฤดูกาล[แก้]

  • เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม ถึง ปลายตุลาคม
  • เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย[แก้]

  • พันธุ์พระราชทาน 16
  • พันธุ์พระราชทาน 20
  • พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
  • พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix
  • พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
  • พันธุ์พระราชทาน 80 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก ตั้งแต่ปีพ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา) เป็นสายพันธุ์ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ Royal Queen
  • พันธุ์ 329 (Yale) เป็นพันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูก เป็นพันธุ์ที่มาจากประเทศอิสราเอล

สารอาหาร[แก้]

แหล่งปลูกที่สำคัญในประเทศไทย[แก้]

พันธุศาสตร์[แก้]

สตรอเบอร์รี่มีพันธุศาสตร์ออกตะพลอยด์ที่ซับซ้อน (8 โครโมโซม)[4] ตลอดจนการสกัดดีเอ็นเอลักษณะนิยม ทั้งนี้ สตรอว์เบอร์รีมีลำดับที่ได้รับการค้นพบเป็นจำนวน 7,096 ยีน[5]

อาการแพ้[แก้]

ผู้คนบางรายมีประสบการณ์ในการมีอาการแอนาฟิแล็กซิสจากการรับประทานสตรอว์เบอร์รี[6]

ที่มา...https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B5