วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สตรอว์เบอร์รี่

สตรอว์เบอร์รี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตรอว์เบอร์รี
ผลของสตรอว์เบอร์รี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Magnoliopsida
อันดับ:Rosales
วงศ์:Rosaceae
วงศ์ย่อย:Rosoideae
เผ่า:Potentilleae
เผ่าย่อย:Fragariinae[1]
สกุล:Fragaria
L.
สปีชีส์
มีมากกว่า 20 ชนิด
สตรอเบอร์รี (อังกฤษstrawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก

รูปลักษณะ[แก้]

เป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม[แก้]

ไร่สตรอว์เบอร์รี
ผลสตรอว์เบอร์รีที่ยังไม่นำออกจากต้น
  • พื้นที่ที่มีระดับความจากน้ำทะเล800เมตร
  • พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
  • พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์

ฤดูกาล[แก้]

  • เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม ถึง ปลายตุลาคม
  • เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย[แก้]

  • พันธุ์พระราชทาน 16
  • พันธุ์พระราชทาน 20
  • พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
  • พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix
  • พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
  • พันธุ์พระราชทาน 80 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก ตั้งแต่ปีพ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา) เป็นสายพันธุ์ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ Royal Queen
  • พันธุ์ 329 (Yale) เป็นพันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูก เป็นพันธุ์ที่มาจากประเทศอิสราเอล

สารอาหาร[แก้]

แหล่งปลูกที่สำคัญในประเทศไทย[แก้]

พันธุศาสตร์[แก้]

สตรอเบอร์รี่มีพันธุศาสตร์ออกตะพลอยด์ที่ซับซ้อน (8 โครโมโซม)[4] ตลอดจนการสกัดดีเอ็นเอลักษณะนิยม ทั้งนี้ สตรอว์เบอร์รีมีลำดับที่ได้รับการค้นพบเป็นจำนวน 7,096 ยีน[5]

อาการแพ้[แก้]

ผู้คนบางรายมีประสบการณ์ในการมีอาการแอนาฟิแล็กซิสจากการรับประทานสตรอว์เบอร์รี[6]

ที่มา...https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น