วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จ.เชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ
วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

Wat Phra Kaew - 1.jpg

กลุ่มพระอุโบสถ[แก้]

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มุมมองสายตานก จากทางทิศตะวันออก
กลุ่มพระอุโบสถ
วัดพระแก้ว
กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง และ หอพระคันธารราษฎร์

พระอุโบสถ[แก้]

พระอุโบสถ ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม 8 ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2326 เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2322 (พบพระแก้วมรกต ครั้งแรกที่เจดีย์ ณ วัดพระแก้ว อ.เมือง จังหวัดเชียงราย)
ในการสร้างพระอุโบสถหลังนี้ใช้เวลา 3 ปี สำเร็จเรียบร้อยลงใน พ.ศ. 2328 ต่อมา เมื่อประมาณได้เกิดเพลิงไหม้บุษบกทรงพระแก้วมรกตซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมขึ้นใหม่ให้ทันฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปลายรัชกาล
หลักฐานการก่อสร้างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถในรัชสมัยนี้ไม่ชัดเจนนัก นอกจากบ่งไว้ว่า ฝาผนังรอบนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ
ส่วนฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบซึ่งปรากฏว่ามีการแก้ไขในรัชกาลที่ 3 และ 4 ในภายหลังดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน
พระทวารกลาง เป็นพระทวารใหญ่สูง 8 ศอกคืบ กว้าง 4 ศอกคืบ ตัวบานเป็นบานประดับมุกลายช่องกลม ส่วนพระทวารข้างเป็นทวารรองสูง 7 ศอก กว้าง 3 ศอก 1 คืบ 10 นิ้ว ตัวบานเป็นบานประดับมุกกลายเต็ม ซึ่งบานพระทวารทั้ง 2 แห่งนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นว่า "เป็นฝีมือที่น่าชมยิ่ง ตั้งใจทำแข่งกับบานที่ทำครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ที่วิหารยอด"
ภายในพระอุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐานพระแก้วมรกตในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย

หอราชกรมานุสรณ์และหอพงศานุสรณ์[แก้]

หอราชกรมานุสรณ์และหอพงศานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศเหนือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่างๆในสมัยอยุธยาหอหนึ่ง และในสมัยรัตนโกสินทร์อีกหอหนึ่ง ภายในเขียนภาพพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรไทยที่มีฝีมือดีที่สุดในสมัยนั้น

พระโพธิธาตุพิมาน[แก้]

พระโพธิธาตุพิมานเป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์ของโบราณ ซึ่งทรงอัญเชิญมาจากเมืองเหนือขณะผนวช ภายในพระปรางค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและบรรจุพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา

กลุ่มฐานไพที[แก้]

กลุ่มอาคารบริเวณฐานไพที มีอาคารหลักสามหลัง คือ ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ และวัตถุประดับตกแต่งอื่นๆเช่น รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ บุษบกพระราชลัญจกร นครวัดจำลอง พระสุวรรณเจดีย์ และ พนมหมาก

กลุ่มอาคารประกอบ[แก้]

แผนผังอย่างคร่าวๆของวัดพระแก้ว
เป็นกลุ่มอาคารและสิ่งประดับอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มอาคารทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วย หอพระนาก พระเศวตกุฏาคารวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม พระอัษฎามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาล และจิตรกรรมฝาผนังที่ พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

พระอัษฎามหาเจดีย์[แก้]

พระอัษฎามหาเจดีย์ หรือ พระปรางค์ 8 องค์ ตั้งเรียงกันอยู่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายนอกพระระเบียง พระมหาเจดีย์ทั้ง 8 องค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน ภายนอกพระระเบียง 6 องค์ ภายในพระระเบียง 2 องค์ พระอัษฎามหาเจดีย์เป็นชื่อที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม เมื่อฉลองพระนครครบ 200 ปี มีมติให้เรียกชื่อรวมเป็นทางการตามชื่อที่ปรากฏในการบูรณปฏิสังขรณ์สมัย รัชกาลที่ 3 ของพระศรีภูริปรีชาวัตถุประสงค์ในการสร้างพระมหาเจดีย์เหล่านี้ก็เพื่ออุทิศ เป็นพระพุทธเจดีย์องค์หนึ่ง พระธรรมเจดีย์องค์หนึ่ง พระปัจเจกเจดีย์องค์หนึ่ง พระสาวกเจดีย์องค์หนึ่ง พระภิกขุนีสาวกเจดีย์องค์หนึ่ง พระชาฎกโพธิสัตว์องค์หนึ่ง พระสงฆเจดีย์องค์หนึ่ง และพระยาจักรเจดีย์องค์หนึ่ง
ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องเคลือบสีที่พระมหาเจดีย์ทั้ง 8 องค์ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 เป็นการซ่อมส่วนที่ชำรุดเสียหายแต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูป ร่างแต่ประการ
 ที่มา..https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น